HOME  I  English  I  Thai     
Apply for
VISA to Norway
In
Thailand
รายละเอียดการขอวีซ่า
แรงงานฝีมือ
ท่านอาจได้รับอนุญาตให้พำนักในนอร์เวย์ในฐานะแรงงานฝีมือ ถ้าท่านมีคุณสมบัติ ผ่านการศึกษา ดังนี้
การอบรมศึกษาด้านแรงงานฝีมือ ต้องเทียบเท่าการศึกษาระดับมัธยมปลาย ท่านต้องจบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในงานเฉพาะสาขา หรือเทียบเท่า 3 ปี ในระดับมัธยมปลาย  ถ้าจบการศึกษาจากต่างประเทศ ต้องมีระดับความรู้ ระดับการศึกษาขั้นต่ำเทียบเท่ากับที่กำหนดให้จบการศึกษาในนอร์เวย์ เช่น วิชาชีพ ช่างเชื่อม ช่างประปา หรือ ผู้ช่วยพยาบาล
ประกาศนียบัตรงานฝีมือ ที่ได้รับจากต่างประเทศ  ต้องอยู่ในระดับคุณภาพเดียวกับที่ได้รับในนอร์เวย์
อุดมศึกษา ต้องได้ปริญญาตรี หรือ โท เช่น พยาบาลศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
คุณสมบัติพิเศษ ท่านต้องได้รับการฝึกฝน ความเชี่ยวชาญ เฉพาะทาง จากประสบการณ์การทำงานในสาขานั้นเป็นเวลานาน รวมทั้งงานสาขาอื่นด้วย ทั้งการฝึกฝน และอบรมสัมมนา  โปรดทราบว่า โดยหลักการแล้ว ใบอนุญาตทำงานของแรงงานฝีมือที่ได้มาจากคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ ต้องใช้เอกสารจำนวนมากพิสูจน์ ประกอบการพิจารณา
คลิกที่นี่ เพื่อศึกษารายละเอียเพิ่มเติม เกี่ยวกับใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานฝีมือ

ขั้นตอนการขอวีซ่า

ขั้นแรก :
หากท่านต้องการพำนักอยู่ในประเทศนอร์เวย์มากกว่า 90 วัน หรือต้องการไปทำงานหรือศึกษาต่อ ท่านจะต้องสมัครวีซ่าพำนักถาวร ซึ่งท่านสามารถยื่นใบสมัครขอวีซ่าได้ที่ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าประเทศนอร์เวย์ โปรดทราบว่าในประเทศไทย ไม่สามารถกรอกใบสมัครออนไลน์สำหรับวีซ่าประเภทพำนักถาวรได้ ผู้ที่จะสมัครจะต้องมาสมัครด้วยตัวเอง สำหรับผู้สมัครที่ไม่ได้มีเชื้อชาติไทย แต่พำนักอาศัยในประเทศไทย จะต้องแสดงหลักฐานการพำนักหรือหลักฐานการทำงานในประเทศไทย ย้อนหลัง 6 เดือนนับจากวันที่สมัคร

ทางสถานเอกอัคราชฑูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย จะส่งเอกสารการสมัครขอวีซ่าพำนักถาวร ไปยัง UDI ในประเทศนอร์เวย์ โดยผู้ยื่นจะต้องพำนักอยู่ในประเทศไทยจนกระทั่งได้รับผลการพิจารณา

ขั้นตอนที่สอง :
ก่อนการสมัครขอวีซ่า โปรดตรวจสอบให้ถูกต้องถึง .”ประเภทของวีซ่าพำนัก อาศัย” ขอให้เข้าใจว่า เรามีหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ท่านในกระบวนการสมัครขอวีซ่า แต่เราไม่มีสิทธิ์ให้คำแนะนำท่านในเรื่องประเภทของวีซ่าที่ควรขอ นอกจากนี้เราไม่สามารถให้คำตอบท่านได้ว่า คำขอวีซ่าของท่านจะได้รับอนุมัติหรือไม่ หรือ กระบวนการอนุมัติจะใช้เวลาเท่าไร เนื่องจากเป็นดุลยพินิจของสถานทูตนอร์เวย์เท่านั้น

ขั้นตอนที่สาม :
ท่านที่ต้องการสมัครวีซ่าประเภทพำนักอาศัย ทำงาน หรือเรียนต่อ จะต้องกรอกใบสมัคร 'Application for a permit for residence or work’ กรุณาตรวจสอบโดยละเอียดว่าท่านได้กรอกข้อมูลถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว พร้อมทั้งเซ็นชื่อกำกับ รวมทั้งยื่นเอกสารประกอบการสมัคร ตามที่ระบุไว้ใน 'เอกสารที่ต้องใช้' ภายในเว็บไซต์นี้ 'ข้อมูลพึงรู้เกี่ยวกับการขอวีซ่า - วีซ่าระยะยาว

ขั้นตอนที่สี่ :
โปรดอ่านประกาศเกี่ยวกับกฎระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยก่อนที่ท่านจะไปติดต่อที่ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า/สถานทูตนอร์เวย์ ณ กรุงเทพมหานคร